ดาวกระจาย ๒

Cosmos sulphureus Cav.

ชื่ออื่น ๆ
คำแพ, คำเมืองไหว (เหนือ); คำอังวะ (แม่ฮ่องสอน)

ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นมีริ้ว เกลี้ยง หรือมีขนยาวห่างถึงขนสากประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูป สามเหลี่ยม ขอบหยักลึกแบบขนนก ๑-๒ ชั้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยวที่ปลายยอด วงใบประดับ รูประฆัง ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย รูปลิ้น สีเหลืองเข้ม สีส้ม หรือสีเหลือง อมส้ม และดอกย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ รูปหลอด ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปกระสวยแกมรูปแถบแคบ สีดำ มีขนคาย ที่ปลายมีกลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัสลักษณะเป็นรยางค์แข็ง ๒-๓ อัน กางออก มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     ดาวกระจายชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้น ตรงสูง ๐.๒-๑.๖ ม. ลำต้นมีริ้ว เกลี้ยง หรือมีขนยาวห่าง ถึงขนสากประปราย
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยม กว้าง ๑.๕-๘ ซม. ยาว ๓-๑๐ ซม. ขอบหยักลึกแบบขนนก ๑-๒ ชั้น มีหยักทางด้านข้าง ๓-๕ คู่ หยักที่ยอดรูปใบหอก กลับถึงรูปใบหอกแคบ กว้าง ๒-๕ มม. ยาว ๐.๕-๒ ซม. ปลายเป็นติ่งแหลมอ่อน ก้านใบยาว ๑-๗ ซม.
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยวที่ปลาย ยอด เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๔ ซม. ก้านช่อยาว ๑๐-๒๐ ซม. วงใบประดับรูประฆัง กว้าง ๑-๑.๒ ซม. สูง ๐.๘-๑.๒ ซม. ใบประดับเรียง ๒ วง วงละ ๘ ใบ ยาว ๐.๕- ๑ ซม. ปลายแหลม วงนอกรูปใบหอก เนื้อนุ่ม ขอบใส วงในรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ขอบบางและแห้ง ฐาน ดอกแบน ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอก เป็นดอกเพศเมีย มีประมาณ ๘ ดอก รูปลิ้น สีเหลืองเข้ม สีส้ม หรือสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นรยางค์ ๒- ๓ อัน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ ๑ ซม. ปลายเชื่อมติดกันเป็นแผ่นรูปไข่กลับถึงรูปใบหอก กลับ กว้าง ๑-๑.๗ ซม. ยาว ๑.๘-๒.๘ ซม. ปลายค่อนข้าง ตัดหรือหยัก ๓ หยัก และดอกย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์ เพศ มีประมาณ ๓๐ ดอก กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นรยางค์ ๒-๓ อัน ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอด ยาว ๖-๗ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยาว ประมาณ ๑.๕ มม. เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ก้านชูอับเรณู แยกกัน อับเรณูเชื่อมติดกันและหุ้มก้านยอดเกสรเพศ เมีย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้าน ยอดเกสรเพศเมียยาวใกล้เคียงหลอดกลีบดอก ยอดเกสร เพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก
     ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปกระสวยแกมรูป แถบแคบ ยาว ๑.๒-๓.๒ ซม. สีดำ มีขนคาย มีจะงอยยาว ยาว ๐.๘-๑.๘ ซม. ที่ปลายมีกลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัส ลักษณะเป็นรยางค์แข็ง ๒-๓ อัน กางออก มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     ดาวกระจายชนิดนี้เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มี ถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกา ใต้ พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเข้ามาปลูก และแพร่พันธุ์ทั่วไปในประเทศไทย พบตามสองข้างทาง ที่รกร้างและที่เกษตรกรรม ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึง ประมาณ ๑,๒๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลตลอดปี
     ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาวกระจาย ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cosmos sulphureus Cav.
ชื่อสกุล
Cosmos
คำระบุชนิด
sulphureus
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Cav.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Cav. ช่วงเวลาคือ (1745-1804)
ชื่ออื่น ๆ
คำแพ, คำเมืองไหว (เหนือ); คำอังวะ (แม่ฮ่องสอน)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.